ศึกษาธรรมะ จากธรรมชาติ วันเวลาเคลื่อนคล้อย ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ทำให้เราคิดถึงตัวเองมากขึ้น อย่าปล่อยเวลาว่างให้ล่วงเลยไปเปล่า ๆ หาอะไรทำที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง และสังคมบ้าง ตื่นนอนขึ้นมามองหาสิ่งที่จะทำประโยชน์ตนประโยชน์ท่านดีกว่า
1. จงให้มากกว่าที่ผู้รับต้องการ และทำอย่างหน้าชื่นตาบาน
2. จงพูดกับคนที่ถึงแม้จะอายุน้อยกว่า แต่เขาก็มีความสำคัญเท่ากัน
3. จงอย่าเชื่อทุกอย่างที่ได้ยิน ใช้ทั้งหมดที่มี และนอนเท่าที่อยากจะนอน
4. เมื่อกล่าวคำว่า 'ฉันรักเธอ' จงหมายความตามนั้นจริง ๆ
5. เมื่อกล่าวคำว่า 'ขอโทษ' จงสบตาเขาด้วย
6. ก่อนจะตัดสินใจแต่งงาน จงหมั้นเสียก่อนอย่างน้อย 6 เดือน
7. จงเชื่อในรักแรกพบ
8. อย่าหัวเราะเยาะความฝันของผู้อื่น คนที่ไม่มีฝันก็เหมือนไม่มีอะไร
9. เมื่อรักจงรักให้ลึกซึ้ง และ ร้อนแรง อาจจะต้องเจ็บปวดแต่นั่นคือหนทางเดียวที่ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็ม
10. ในเหตุการณ์ขัดแย้ง โต้อย่างยุติธรรม ไม่มีการตะโกนใส่กัน
11. อย่าตัดสินคนเพียงเพราะญาติๆ ของเขา
12. จงพูดให้ช้า แต่ต้องคิดให้เร็ว
13. ถ้าถูกถามด้วยคำถามที่ไม่อยากตอบ จงยิ้มแล้วถามกลับว่า จะรู้ไปทำไม
14. จงจำไว้ว่า สองสิ่งที่ยิ่งใหญ่ คือความรัก และความสำเร็จ ล้วนต้องมีการเสี่ยง
15. พูดว่า ขอพระคุ้มครอง เมื่อได้ยินใครจาม
16. เมื่อพ่ายแพ้ จงอย่าสูญเสียบทเรียนไปด้วย
17. จงจำ 3 R :- นับถือผู้อื่น นับถือตนเอง รับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองทำ
18. จงอย่าให้ความขัดแย้งเล็กๆ น้อยๆ มาทำลายมิตรภาพที่ยิ่งใหญ่
19. ทันทีที่รู้ตัวว่าทำผิด ลงมือแก้ไขทันที
20. จงยิ้มเวลารับโทรศัพท์ ผู้ฟังจะเห็นได้จากน้ำเสียงของเรา
21. จงหาโอกาสอยู่กับตัวเองบ้าง
Snow falls at Wat Thai, DC. USA.
Dr.Phramaha Thanat Inthisan report from Washington,DC.
Feb.6,2010
Time : 12.30 pm.
เชิญชมภาพคลิปวีดีโอ ถ่ายไว้ขณะที่พายุหิมะตกถล่มทั่วบริเวณมลรัฐแมรี่แลนด์ มลรัฐเวอร์จีเนีย และกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี.ประเทศสหรัฐอเมริกา ภาพที่เห็นนี่คือบริเวณหน้าอุโบสถพระพุทธมงคลวิมลดีซี.วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดี.ซี. บันทึกเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ เวลา ๑๒.๓๐ น.โดย ดร.พระมหาถนัด อตฺถจารี พระธรรมทูตวัดไทยฯ ดี.ซี.
วัดไทยฯ ดี.ซี. ศูนย์รวมความดีเพื่อสังคมไทยในU.S.A.
วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก่อกำเนิดเกิดขึ้นมาด้วยสายธารศรัทธาของพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวต่างชาติแต่ศาสนาเดียวกัน ซึ่งต้องการมีแหล่งรวมใจ หรือศูนย์รวมแห่งจิตวิญญาณ อันมีพระสงฆ์เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ผู้นำแห่งจิตวิญญาณ และเป็นที่พึ่งทางใจแก่ชาวไทย และชาวพุทธจากประเทศต่าง ๆ ในโลกที่จากบ้านเกิดเมืองนอนมาใช้ชีวิตอยู่ในแดนไกล
จากจุดเริ่มต้นของชุมชนไทยในเขตกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.ที่ต้องการจะมีวัดไทย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ (ค.ศ.๑๙๗๔) จนถึงปัจจุบัน มีอายุถึง ๓๖ ปีแล้ว วัดไทยฯ ดี.ซี.ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งด้านวัตถุ และสิ่งที่เป็นนามธรรม คือทำหน้าที่หล่อหลอมสังคมไทย สังคมชาวพุทธในอเมริกาได้อย่างรวดเร็ว จนต้องย้ายสถานที่ประกอบศาสนกิจถึง ๒ ครั้ง และที่ปัจจุบันเป็นแห่งที่ ๓ เป็นสถานที่ที่เหมาะสม สามารถอำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชน คนที่เข้ามาวัดที่มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เช่นเพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เพื่อเรียนภาษาไทย และวัฒนธรรมไทย และเพื่อบำเพ็ญบุญกุศลในโอกาสต่าง ๆ
วัดไทยกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ศูนย์ฯ ความดีแห่งสังคมไทยในอเมริกาภารกิจอันสำคัญในการหล่อหลอมสังคมไทยในสหรัฐอเมริกา ให้อยู่ในกรอบแห่งวัฒนธรรม ประเพณีไทย คือการจัดการศึกษาแก่เยาวชนลูกหลานไทยที่เกิดและเติบโตในสังคมอเมริกัน ซึ่งมีความหลากหลายวัฒนธรรม โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้จัดการเรียนการสอนครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙(ค.ศ.๑๙๗๖) โดยมีครูอาสาสมัครในพื้นที่เขตปริมณฑลกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ร่วมกับพระสงฆ์ทำหน้าที่ช่วยกันสอนภาษาไทย วัฒนธรรมไทย และพระพุทธศาสนา แก่เด็ก ๆ เยาวชน ลูกหลานชาวไทยให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถพูด ฟัง เขียน และอ่านภาษาไทยได้ ตลอดถึงการถ่ายทอดจิตสำนึกในความเป็นไทย ให้รักและศรัทธาในเอกลักษณ์ของความเป็นคนไทย ซึ่งโครงการนี้ได้รับความสนใจจากผู้ปกครองได้นำบุตรหลานเข้ามาเรียนภาษาไทย และวัฒนธรรมไทย มารยาทไทย เข้าใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา โดยมีข้าราชการสถานเอกอัครราชทูต พ่อค้า ประชาชน ในเขตกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มลรัฐเวอร์จีเนีย และมลรัฐแมรี่แลนด์ ให้การสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษาส่วนนี้ด้วยดีตลอดมา
ส่วนพระสงฆ์ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณนั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระวิเทศธรรมรังษี หรือ หลวงตาชี ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนมาตลอดตั้งแต่เริ่มแรก และพร้อมด้วยคณะสงฆ์พระธรรมทูตรุ่นต่อ ๆ มา ทำหน้าที่หล่อหลอมสังคมไทย ด้วยการใช้หลักพุทธธรรมนำชีวิต สร้างความมั่นใจ และมั่นคงในหลักธรรมแก่ชาวพุทธ จนทำให้สังคมชาวพุทธไทยในอเมริกามีความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เพราะพลังแห่งความสามัคคี อันมีวัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.เป็นศูนย์กลาง